The fairy tales of Van Cleef & Arpels

เครื่องประดับไม่เพียงแต่ทำหน้าที่สร้างภาพลักษณ์หรือนำเสนอตัวตนของผู้สวมใส่เท่านั้น หากแต่ยังช่วยยกระดับความสุขทางใจให้แก่ผู้ได้รับอีกด้วย บ่อยครั้งที่เครื่องประดับถูกใช้ในฐานะของขวัญแทนความรู้สึก กลายเป็นเครื่องมือที่แสดงความรัก ความห่วงใย และความผูกพันในหลายโอกาส เช่นเดียวกับแบรนด์เครื่องประดับชั้นสูงอย่าง Van Cleef & Arpels ที่มีต้นกำเนิดจากความรักระหว่างชายหญิงคู่หนึ่ง ที่ ณ วันนี้ได้ส่งต่อความสุขไปยังผู้คนทั่วโลก     Van Cleef & Arpels เกิดจากนามสกุลของ Alfred Van Cleef (อัลเฟรด วอง คลีฟ) ลูกชายช่างเจียระไนพลอย และ Estelle Arpels (เอสแตล อาร์เพล) ลูกสาวพ่อค้าขายอัญมณี ทั้งคู่พบรักและแต่งงานกันในปี 1895 จากนั้นจึงก่อตั้งแบรนด์เครื่องประดับ Van Cleef & Arpels ขึ้นด้วยความฝันที่อยากจะสร้างบางอย่างร่วมกันให้คงอยู่ตลอดไป อัลเฟรดได้ผลักดันแบรนด์เครื่องประดับนี้ร่วมกับน้องชายทั้งสามของเอสแตล จนสามารถเปิดหน้าร้านสาขาแรกในย่าน Place Vendôme ได้สำเร็จ ซึ่งปัจจุบันบริเวณนี้กลายเป็นแหล่งรวบรวมแบรนด์เครื่องประดับสุดหรู ณ ใจกลางกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส     นอกจากความรักจะเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์แล้ว…

Romeo & Juliet

ความรักนิรันดร์ในวรรณกรรมคลาสสิคมักถูกหยิบยกมาพูดถึง ทำซ้ำ หรือดัดแปลงในสื่อรูปแบบต่างๆ เสมอ ไม่เว้นแม้แต่วงการเครื่องประดับ ที่เปรียบเสมือนการใช้สัญลักษณ์แทนใจอธิบายความรู้สึกได้แม้ไร้คำพูด เช่นเดียวกับแบรนด์เครื่องประดับชั้นสูงสัญชาติฝรั่งเศสอย่าง Van Cleef & Arpels (แวนคลีฟแอนด์อาเพล) ที่นำแรงบันดาลใจจากเรื่องราว นิทานปรัมปรา และวรรณกรรมในแต่ละยุคสมัยมาถ่ายทอดเป็นชุดงานเครื่องประดับอยู่เสมอ ในปี 2019 VC&A ได้หยิบเรื่องราวของ Romeo & Juliet (โรเมโอกับจูเลียต) ที่ผู้คนทั่วโลกต่างรู้จักเป็นอย่างดีมาปัดฝุ่นใหม่ หลังจากที่เคยออกคอลเลคชั่นชื่อเดียวกันนี้เมื่อปี 1951 เรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักที่เกิดขึ้นระหว่างหนุ่มสาวจากตระกูลคู่อริ โรเมโอ มอนตาคิว และจูเลียต คาปูเลต กับฉากหลังเมืองเวโรน่า หนึ่งในเมืองที่นักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนมากที่สุดในประเทศอิตาลี สิ่งเหล่านี้ได้กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างสรรค์คอลเลคชั่น High Jewelry collection ประจำปี 2019 ของ Van Cleef & Arpels เริ่มจากตัวละครหลักทั้งสอง ที่เห็นได้ชัดว่าแตกต่างและมีพัฒนาการจากโรเมโอกับจูเลียตในปี 1951 โดยในฉบับปี 2019 นี้ VC&A สามารถถ่ายทอดลักษณะท่าทาง อากัปกริยา และอารมณ์ของตัวละครได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกโทนสีโลหะและการตกแต่งอัญมณีส่วนต่างๆ…

Cartier, a jeweller of Kings and King of jewellers

“ช่างทองหลวงของพระราชา และราชาแห่งช่างทองทั้งปวง” ประโยคข้างต้นเป็นคำกล่าวของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักรถึง Cartier (การ์คทิเยร์ หรือคาร์เทียร์ตามความคุ้นปากของคนไทย) แบรนด์เครื่องประดับชั้นสูงที่ในวันนี้มีอายุเกือบสองร้อยปี คาร์เทียร์ก่อตั้งในปี 1847 ณ กรุงปารีส โดย Louis-François Cartier (หลุยส์-ฟรองซัวส์ การ์คทิเยร์) โดยเริ่มต้นจากการเป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งในปีเดียวกันลูกชายของหลุยส์-ฟรองซัวส์ Alfred Cartier (อัลเฟรด การ์คทิเยร์) เป็นช่างทองคนแรกที่สามารถรังสรรค์เครื่องประดับโดยใช้แพลทินัมเป็นวัสดุได้สำเร็จ เพราะในอดีตแพลททินัมเป็นโลหะมีค่าราคาสูงแต่ไม่นิยมนำมาขึ้นตัวเรือนเครื่องประดับ เนื่องจากมีระดับความแข็งที่ยากต่อการขึ้นรูป จึงทำให้ชื่อเสียงของคาร์เทียร์เป็นที่ยอมรับและก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในยุคสมัยนั้น คาร์เทียร์เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้น เมื่อลูกชายทั้งสามของอัลเฟรดเข้ามามีบทบาทในการดูแลแบรนด์ หลุยส์ ปิแอร์ และฌาร์ค การ์คทิเยร์ ได้เดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อศึกษางานเครื่องประดับและสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผู้มั่งคั่ง ส่งผลให้คาร์เทียร์มีหน้าร้านทั้งในประเทศรัสเซีย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา หนึ่งในลูกค้ากิตติมศักดิ์ที่เรียกใช้คาร์เทียร์มาอย่างยาวนานคือเหล่าราชวงศ์ชั้นสูงจากประเทศต่างๆ โดยมีจุดเริ่มต้นในปี 1901 เมื่อสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดร้าในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงมีรับสั่งให้คาร์เทียร์ออกแบบสร้อยพระศอที่ดูเข้ากันกับชุดสไตล์อินเดียที่พระองค์ได้รับถวายมา คาร์เทียร์จึงเลือกใช้อัญมณีสีสันสดใสและเจียระไนเลียนแบบรูปทรงพืชพันธุ์ในธรรมชาติเขตร้อน จนกลายเป็นผลงานต้นแบบของเครื่องประดับชุด Tutti Frutti อันโด่งดังที่ได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่ปรากฏสู่สายตาคนทั่วไปภายใต้ชื่อ Tutti Frutti Collection…

#QuarantineWatch02

This is part 2 of the #QuarantineWatch, if you want to read part 1, the movies that I have never watched before please click here. And this is the list of movies I watched many times and watched them again in April 2020.   Midnight in Paris (2011) I actually watched this film for the…

#QuarantineWatch01

During this quarantine, I find it the best time to explore the movies I have never watched before but always planned to. Most of them are available on Netflix, but some are rare and I have paid to get them. I divided the list into two parts, this first one is all the movies I…

#QuarantineRead

During this quarantine period, I have spent most of the time reading books. Some are my old favourite but some are new, and most of them are recent bought. Here I wanted to record the list of books I have finished in April 2020.   The Little Prince A classic literature which recently celebrated its…

009 : Baan Pa Toom-Pa Tai Museum

Dates back to the early 60s, His Majesty the Late King Bhumibol Adulyadej (King Rama IX of Thailand) and Her Majesty Queen Regent Sirikit, The Queen Mother had visited many rural areas in Thailand, particularly in the Northeastern region (Isaan).   Her Majesty the Queen Mother visited Baan Nong Khae for the first time (1978)…

Sakon Made | Sakon Series 03

Nowadays, Sakon Nakhon is nationally famous for their craftsmanship on Indigo, or Kram in Thai. The province is also fascinating by its tourist attractions, and recently, the local youngsters have gathered and arranged an annual event called Sakon Made which raised the province reputation and became one of the destinations to visit during Christmas and New Year breaks.    …

Baan Pa Toom-Pa Tai Museum | Sakon Series 02

“Baan Pa Toom-Pa Tai” Museum is founded on the purpose to preserve the local wisdom in Thai traditional textiles and the historical story between Thai royal family and the members of SUPPORT Foundation. The museum is located at “Baan Nong Khae” village in Sakon Nakhon, one of the provinces in northeastern Thailand. I have revisited…

Explore Sakon | Sakon Series 01

Sakon Nakhon is one of the provinces in the northeastern part of Thailand. Recently it has been famous for the culture of ‘Indigo’ or in Thai ‘Kram’. For years that a younger generation of Sakon Nakhon has gathered to move their province forward and make a change on the image. I have visited Sakon Nakhon…

Autumn in my Seoul

If you knew me since I was studying in the university, you would have known that I was in South Korea as an exchange student in 2011. In Seoul, I had a beautiful and memorable time at Kookmin University, for almost 3 months, that I had been practising a skill of jewellery making in a…

Vivid Taiwan

บันทึกการเดินทางไปประเทศไต้หวันครั้งแรก การเดินทางในครั้งนี้เป็นรางวัลที่ได้จากการประกวดออกแบบในโครงการ “ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย” นอกจากจะได้เงินรางวัลแล้ว ยังได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ประเทศไต้หวันเป็นเวลา 5 วันด้วย ส่วนตัวเราไม่เคยไปไต้หวันมาก่อน แต่จากคำบอกเล่าของใครหลายคน ไต้หวันเป็นประเทศที่พูดภาษาจีน ผู้คนอพยพมาจากประเทศจีน แต่มีความนอบน้อมเป็นระเบียบแบบญี่ปุ่น ทำให้สีสันและลักษณะของงานออกแบบที่เห็นค่อนข้างจัดจ้าน แต่แฝงไปด้วยความน่ารักกุ๊กกิ๊กแบบเด็กๆ หนึ่งในสถานที่ที่ประทับใจที่สุดคือหมู่บ้านสายรุ้ง หรือ Rainbow Village ที่เมืองไถจง ตามคำบอกเล่าของพี่ไกด์ สถานที่แห่งนี้คือหมู่บ้านเก่าของเหล่าทหารผ่านศึก ซึ่งในอดีตรัฐบาลไต้หวันได้สร้างหมู่บ้านชั้นเดียวให้เป็นที่พักของเหล่าทหารกล้าได้อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่หลังจากนั้นเริ่มเล็งเห็นมูลค่าเพิ่มของพื้นที่โดยรอบ จึงต้องการรื้อถอนและสร้างเป็นสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ทำเงินได้ ในขณะที่กำลังเกิดการรื้อถอนขึ้น ได้มีนายทหารเก่าคนหนึ่งชื่อคุณลุง Huang Yung-fu ได้เริ่มต้นขีดเขียนและวาดรูปลงบนผนังบ้านพักของตนเอง เป็นลวดลายน่ารัก สีสันสดใส กลายเป็นที่ถูกใจของคนในหมู่บ้าน จึงเห็นดีเห็นงามและอนุญาตให้คุณลุงวาดฝาผนังบ้านของตนเองด้วย จนกระทั่งนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปะละแวกนั้นได้มาพบเข้า จึงเกิดการบอกต่อๆ กันไป ไม่ว่าจะเป็นปากต่อปากหรือการใช้ Social Media ทำให้สถานที่แห่งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และเกิดการรวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องให้หมู่บ้านแห่งนี้ได้คงอยู่ต่อไป จนรัฐบาลได้ออกมาประกาศยกเลิกการรื้อถอน และได้ประกาศให้หมู่บ้านสายรุ้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของไต้หวัน โดยตัวคุณลุง Huang Yung-Fu ก็ยังอาศัยอยู่ในบริเวณหมู่บ้านนี้ ซึ่งปัจจุบันมีอายุถึง 97 ปีแล้ว! คุณลุงนั้นเรียกว่าเป็นมาสคอตของที่นี่ก็ว่าได้ เพราะเป็นคนวาดรูปทั้งหมด และยังปกป้องให้หมู่บ้านแห่งนี้ไม่ถูกทำลายลงไป จึงไม่น่าแปลกใจที่แขกไปใครมาจะต้องขอถ่ายรูปกับคุณลุง…