Day 9 around and about St. Petersburg

วันเกือบสุดท้ายในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ถือว่าเราเก็บสถานที่สำคัญๆ ได้เกือบครบ เหลือไม่กี่แห่งที่รู้สึกว่าไปก็ได้ไม่ไปก็ได้ แต่เมื่อมีวันเหลือคุณแม่ก็บอกว่าไปเถอะ เอาให้คุ้ม

ความเดิมจากที่เราได้หนังสือ The Rulers of Russia มาจาก Peterhof แม่ก็ได้หนังสือ Saint Petersburg and its environs มาเช่นกัน ซึ่งภายในเล่มรวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พร้อมรูปประกอบสีสวย เป็นเหตุผลให้แม่ซื้อเก็บไว้เป็นที่ระลึก และสถานที่ที่เราจะไปในวันนี้ ก็เกิดจากคุณแม่จิ้มเอาจากหนังสือเล่มนี้แหละ ไม่ได้แพลนกันมาตั้งแต่ต้น

 

St. Nicholas Naval Cathedral

600417-01600417-02

 

โบสถ์ St. Nicholas มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าโบสถ์กะลาสีเรือ ซึ่งมีที่มาจากพื้นที่ตรงนี้เชื่อมต่อกับแม่น้ำ Moika และแม่น้ำ Fontanka โดยตั้งแต่สมัยพระเจ้าปีเตอร์มหาราชนั้น กะลาสีเรือได้เริ่มเข้ามาอาศัยในบริเวณนี้ และเริ่มก่อสร้างสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาขึ้น ซึ่งในสมัยนั้นยังใช้ไม้เป็นวัตถุดิบหลัก จนกระทั่งในสมัยพระนางอลิซาเบธได้สั่งให้มีการก่อสร้างโบสถ์โดยใช้หินขึ้นแทนที่ โดยก่อนหน้านั้นต้องยกพื้นดินให้สูงขึ้นอีก 2 เมตรเพื่อป้องกันน้ำท่วม

การก่อสร้างดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งรัชสมัยของพระนางแคทเธอรีนที่ 2 ได้มีการประกาศให้เป็นโบสถ์ของกองทัพเรืออย่างเป็นทางการ โดยภายในโบสถ์มีการทำพิธีให้กับทหารเรือที่เสียชีวิตในสงครามบ่อยครั้ง ซึ่งในปัจจุบันโบสถ์แห่งนี้ถือเป็นอาคารสไตล์บาโรคที่สวยที่สุด และเหลือเพียงแห่งเดียวเท่านั้นในรัสเซีย

 

Mikhailovsky Castle (St. Michael’s Castle)

600417-03600417-04

 

ปราสาท St. Michael นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าพอลที่ 1 ถ้ายังจำได้กัน พระองค์คือลูกชายของพระนางแคทเธอรีนที่ 2 ที่ไม่เคยรับความรักจากพระมารดาและมักจะถูกมองข้ามเสมอ พระนางแคทเธอรีนที่ 2 นั้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าปีเตอร์ที่ 3 ด้วยการยึดอำนาจพระสวามีของตนเอง และครองราชย์ยาวนานจนเสด็จสวรรคต ในเวลานั้นพระเจ้าพอลที่ 1 มีอายุถึง 42 ปีแล้วจึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระมารดา แต่ตลอดรัชสมัยพระองค์ต้องดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยความหวาดกลัวว่าจะสักวันจะถูกลอบปลงพระชนม์ ซึ่งก็เกิดขึ้นจริงในห้องบรรทมของพระองค์เองด้วยฝีมือของเหล่าทหารผู้หนุนหลังพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ลูกชายของพระองค์

 

600417-05600417-07600417-08600417-09600417-06

 

ด้านในจัดแสดงภาพเหมือนของเหล่าราชวงศ์โรมานอฟ พร้อมทั้งข้าวของเครื่องใช้อดีต แต่ที่โดดเด่นน่าจะเป็นการตกแต่งภายในที่ได้รับการอนุรักษ์และซ่อมแซมขึ้นใหม่ ทั้งสีสันโดยรอบที่จับคู่ได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังเห็นหลักฐานที่แสดงว่าวังนี้ แม้ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็ได้ใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าพอลที่ 1 จากการใช้ตัวย่อ P (ในภาษารัสเซียคือตัว п) และเลข 1 แทนพระนาม และมงกุฎที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงออกถึงความเป็นกษัตริย์ในการตกแต่งผนังและเพดานด้วย

 

Marble Palace

600417-11600417-12600417-13

 

Marble Palace เป็นอาคารสไตล์ neoclassicism ที่เดิมทีสร้างขึ้นเพื่อมอบให้เป็นของขวัญแก่ท่านเคาท์ กริโกรี่ โอลอฟ (Count Grigory Orlov) หนึ่งในทหารเอกที่ช่วยให้พระนางแคทเธอรีนที่ 2 ยึดอำนาจจากพระสวามีได้สำเร็จ ในภายหลังเมื่อโอลอฟเสียชีวิต พระนางแคทเธอรีนได้ซื้อวังนี้ต่อจากทายาทของเขาเพื่อมอบให้กับหลานชายอีกคนของพระองค์ ซึ่งสถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เรื่อยมาจนกระทั่งการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปี 1843 โดยชื่อ Marble Palace นั้นมีที่มาจากการใช้หินอ่อนที่แตกต่างกันถึง 32 ชนิดในการตกแต่งอาคารทั้งภายนอกและภายในนั่นเอง

 

และการเดินทางในรัสเซียของเรากับแม่ก็เดินทางมาถึงวันสุดท้าย เป็นทริปที่สนุกเหลือเชื่อ ทำให้รู้สึกว่ารัสเซียไม่น่ากลัวอย่างที่เคยคิด อีกทั้งยังมีข้อดีมากมาย การเดินทางก็สะดวก ผู้คนน่ารัก และที่สำคัญคนไทยไม่ต้องขอวีซ่า แถมค่าใช้จ่ายต่างๆ ถูกกว่าหลายประเทศในยุโรป ถึงแม้จะมีภาษาเป็นอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ก็ถือเป็นสีสันในการเดินทางไม่น้อย แล้วไหนจะประวัติศาสตร์ที่สนุกจนช่วยเพิ่มอรรถรสในการเดินทางเข้าไปอีก ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ติดตามโพสต่อๆ ไปที่จะลงรายละเอียดแต่ละพิพิธภัณฑ์ที่เราชอบ โดยเฉพาะ Faberge Museum ที่ไม่อยากให้พลาดกัน!

หากใครสนใจประวัติศาสตร์ของเหล่าราชวงศ์โรมานอฟ สามารถเข้าไปอ่านได้ในเว็บไซต์ http://www.saint-petersburg.com/royal-family/ ที่มีข้อมูลแน่นเอียดและรูปสวยๆ อีกเพียบ

 

 

ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ ได้เวลาเที่ยวรัสเซีย โดย ดร. จิรัฎฐ์ สิริเฉลิมพงศ์ หนังสือ The Rulers of Russia กับหนังสือ Saint Petersburg and its environs ที่ซื้อมาจากร้านหนังสือใน Peterhof และเว็บไซต์ 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.