Brief History of the last Romanov Monarch through Fabergé Imperial Easter eggs

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ปลายราชวงศ์โรมานอฟฉบับย่อ ผ่านงานช่างทองหลวงฟาบาร์เช่

 

ปฏิกริยาจากคนทั่วไปเมื่อพูดถึงประเทศรัสเซียนั้นมักแสดงออกในเชิงลบเสมอ เพราะไม่ว่าจะเป็นโศกนาฏกรรมของราชวงศ์โรมานอฟ สงครามการเมือง การก่อตั้งและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต หรือกระทั่งฤดูหนาวอันโหดร้ายได้กลายเป็นภาพจำของประเทศไปเสียแล้ว จึงไม่แปลกที่เมื่อพูดถึงรัสเซียจะต้องต่อด้วยสมญานาม “ดินแดนหลังม่านเหล็ก” เสมอ เพราะนั่นอาจเป็นเพียงด้านเดียวที่คนทั่วไปรู้จักเมื่อพูดถึงประเทศอันกว้างใหญ่นี้

แต่ในทางกลับกัน ก่อนหน้าการปฏิรูปการปกครอง ย้อนไปในสมัยที่รัสเซียยังเรืองรองด้วยอำนาจขององค์จักรพรรดิ์ นอกเหนือจากความสามารถในการบริหารจัดการประเทศแล้ว ซาร์และซาริน่าแต่ละพระองค์ต่างมีรสนิยมในการเลือกสรรศิลปวัตถุต่างๆ มาไว้ครอบครอง โดยในภายหลังรัฐบาลได้เก็บรวบรวมไว้ด้วยกันแล้วเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้สาธารณชนเข้าชม ซึ่งนอกจากคุณค่าในแง่ความสวยงามเหนือกาลเวลาแล้ว ผลงานศิลปะเหล่านี้ยังทำหน้าที่บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้นๆ ไว้อีกด้วย

และหนึ่งในศิลปวัตถุที่ผ่านการรับสั่งโดยตรงจากประมุขของรัสเซีย รังสรรค์ขึ้นโดยช่างฝีมือชาวรัสเซีย เพื่อมอบให้แก่สมเด็จพระราชินีรัสเซียในขณะนั้น เรากำลังพูดถึง Fabergé Imperial Easter eggs หรือไข่ฟาบาร์เช่ ที่ปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงการปกครองของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 หรือเมื่อประมาณหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน ถ้าเทียบช่วงเวลาเดียวกันในประเทศไทยนั้นอยู่ในรัชสมัยของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5

 

518eff537e4bdf94093b466720605c64--familia-romanov-siam

1220

ในภาพเป็นเหตุการณ์ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาธประเทศรัสเซีย ซึ่งประมุขในขณะนั้นคือพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2

 

ความพิเศษของไข่ฟาบาร์เช่เริ่มต้นในเทศกาลอีสเตอร์ปี 1885 เมื่อพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ได้รับสั่งให้ห้างทองของนายปีเตอร์ คาร์ล ฟาบาร์เช่ ออกแบบและจัดทำของขวัญเพื่อมอบให้กับสมเด็จพระราชินี โดยปูมหลังของซาริน่ามาเรีย ฟีโอโดรอฟน่านั้นเป็นเจ้าหญิงจากประเทศเดนมาร์ก ฟาบาร์เช่จึงออกแบบของขวัญดังกล่าวให้มีลักษณะใกล้เคียงกับสิ่งที่พระองค์คุ้นเคย ของที่ว่านี้คือกล่องใส่เครื่องประดับของพระองค์ในวัยเยาว์ รูปทรงกลมเหมือนไข่ และภายในบรรจุแหวนไว้หนึ่งวง

ฟาบาร์เช่ได้นำรูปทรงดังกล่าวมาใช้ แต่เพิ่ม surprise ด้วยการใช้กิมมิกแม่ไก่เป็นบรรจุภัณฑ์ โดยภายในบรรจุจี้ห้อยคอประดับทับทิม พร้อมกับทองคำรูปทรงมงกุฎ แต่น่าเสียดายที่ทั้งสองอย่างนั้นสูญหายไปตามกาลเวลา โดยไข่ใบนี้มีชื่อว่า Hen Egg หรือ The First Imperial Egg นับเป็นไข่ใบแรกในจำนวนกว่า 50 ใบที่ฟาบาร์เช่ได้สร้างถวายราชวงศ์โรมานอฟ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของธรรมเนียมการส่งมอบไข่ในวันอีสเตอร์ พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 นั้นพอพระราชหฤทัยมากถึงกับรับสั่งให้ฟาบาร์เช่รังสรรค์ไข่ต่อไปในทุกๆ ปี โดยมีโจทย์ให้ไข่แต่ละใบมีความพิเศษเฉพาะตัว และต้องซ่อน surprise อะไรบางอย่างไว้ในนั้น

 

1885-Hen-Egg-0011885-Hen-Egg-002

 

ซึ่งไข่แต่ละใบในปีต่อๆ มา นอกจากจะบรรจุ surprise ไว้ตามที่พระเจ้าซาร์รับสั่งแล้ว ยังบันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ไว้ด้วย ยกตัวอย่างในปี 1890 พระเจ้าซาร์และซาริน่าได้รับสั่งให้พระราชโอรสซาเรวิซนิโคลัส องค์รัชทายาทเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก การเดินทางครั้งนี้กินเวลากว่า 9 เดือน โดยให้เหตุผลว่าเพื่อพัฒนาความสามารถทางการทูตและเตรียมพระองค์ให้พร้อมสำหรับตำแหน่งประมุขแห่งจักรวรรดิรัสเซียในอนาคต แต่ความจริงแล้วทั้งสองพระองค์ต้องการจะแยกซาเรวิซออกจากสาวนักบัลเล่ต์ที่ทรงติดพันอยู่ต่างหาก

ถัดมาในปี 1891 หลังจากซาเรวิซนิโคลัสเสด็จกลับถึงกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ฟาบาร์เช่ได้รังสรรค์ The Memory of Azov Egg เพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับการเดินทาง ระหว่างการเดินทางในครั้งนั้นพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปวางศิลาฤกษ์เพื่อเริ่มต้นการก่อสร้างทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย อีกทั้งยังได้เสด็จฯ เยือนหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย (ขณะนั้นยังใช้คำว่าสยามอยู่) สยามได้รับเสด็จและจัดงานเลี้ยงต้อนรับซาเรวิซนิโคลัสอย่างยิ่งใหญ่ สร้างความประทับพระทัยให้พระองค์เป็นอย่างยิ่ง และการเดินทางในครั้งนี้เองที่ทำให้พระองค์ได้พบกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อันเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพและสายสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างไทยกับรัสเซีย

 

tsarevich01

1891-memory-of-azov-faberge-egg-from-Reuters

 

ไม่กี่ปีถัดมา เมื่อพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เสด็จสวรรคตอย่างกระทันหัน ซาเรวิสนิโคลัสในขณะนั้นได้ก้าวขึ้นมาสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา ดำรงตำแหน่งพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในปี 1895 โดยยังคงไว้ซึ่งธรรมเนียมการมอบไข่ฟาบาร์เช่ในเทศกาลอีสเตอร์ ในแต่ละปีพระองค์จะรับสั่งไข่จากฟาบาร์เช่จำนวน 2 ใบ ใบแรกมอบให้พระมารดา ส่วนอีกใบมอบให้สมเด็จพระราชินีของพระองค์ ซาริน่าอเล็กซานดร้า ฟีโอโดรอฟน่า

Rosebud Egg คือไข่ฟาบาร์เช่ใบแรกที่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 มอบให้ซาริน่าอเล็กซานดร้า โดย surprise ของไข่ใบนี้เป็นดอกกุหลาบตูมลงยาสีเหลืองเสมือนจริง ที่นอกจากจะสื่อถึงการเบ่งบานในความรักระหว่างสองพระองค์แล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นใหม่ในหลายๆ โอกาส ทั้งการเปิดศักราชใหม่ และการขึ้นครองราชย์ของซาร์และซาริน่าพระองค์ใหม่แห่งจักรวรรดิรัสเซีย

 

1895-Rosebud-001

 

พูดถึงการขึ้นครองราชย์ ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศที่มีการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ เนื่องจากไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เหมือนประเทศที่ปกครองโดยประธานาธิบดี ที่มีการเลือกตั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งผู้นำประเทศจะอยู่ในการปกครองรอบละ 4 ปี หรือ 6 ปี แต่สำหรับระบอบพระมหากษัตริย์นั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนเสด็จสวรรคตเท่านั้น

อย่างในประเทศไทยเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบ 70 ปี ซึ่งแปลว่า คนไทยที่อายุน้อยกว่า 70 ปีนั้น ทั้งชีวิตจะยังไม่เคยมีโอกาสเห็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาก่อน แต่ก็ใช่ว่าพระราชพิธีดังกล่าวจะเกิดขึ้นในทุกรัชกาล ยกตัวอย่างเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชย์อย่างสมบูรณ์

ภายหลังจากพิธีราชาภิเษก 1 ปี ฟาบาร์เช่ได้รังสรรค์ไข่อีสเตอร์ประจำปี 1897 ที่มีชื่อว่า The Coronation Egg ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการเริ่มต้นศักราชใหม่ให้แก่ประมุขพระองค์ใหม่ของประเทศ โดย surprise ด้านในเป็นรถม้าพระที่นั่งทองคำ ที่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และซาริน่าอเล็กซานดร้าประทับและเสด็จพระราชดำเนินไปในวันนั้น ชิ้นงานมีขนาดเล็กจิ๋ว แต่เก็บรายละเอียดได้เหมือนจริงทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนขั้นบันได ผนังบุด้านในตัวรถ หรือกระทั่งผ้าม่านริมหน้าต่าง สิ่งเหล่านี้ถูกเนรมิตขึ้นด้วยฝีมือของช่างผู้เชี่ยวชาญจากห้างทองฟาบาร์เช่

 

1897-coronation-egg-011897-coronation-egg-021897-coronation-egg-031897-coronation-egg-04

 

นับตั้งแต่การวางศิลาฤกษ์เมื่อครั้งยังเป็นซาเรวิซ จนกระทั่งขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 9 ปีเต็ม และพร้อมเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกจากเมืองมอสโกไปยังวลาดิวาสต็อกในปี 1891 ในปีเดียวกันฟาบาร์เช่ได้ถวาย Imperial Trans-Siberian Egg แก่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เพื่อเป็นเครื่องบันทึกเหตุการณ์สำคัญในครั้งนี้ผ่านรูปแบบศิลปวัตถุอันทรงคุณค่า ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และความสวยงาม

โดย surprise ของ Imperial Trans-Siberian Egg จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากขบวนรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย ประกอบด้วยตู้รถไฟจำนวน 5 ตู้ หน้าต่างประดับด้วย rock crystal โดยแต่ละโบกี้เขียนว่า “mail” (ตู้จดหมาย) “lady only” (ตู้เฉพาะสุภาพสตรี) “smoking” (ตู้สูบบุหรี่) “non-smoking” (ตู้ห้ามสูบบุหรี่) และ “chapel” (ห้องสวดมนต์) และ surprise สุดท้ายนั้นซ่อนอยู่ที่ลูกกุญแจทอง ที่สามารถใช้ไขและทำให้ขบวนรถไฟวิ่งได้จริง!

 

1900-trans-siberian-egg

 

ในช่วงนี้เรียกว่าเป็นยุครุ่งเรืองของฟาบาร์เช่ก็ว่าได้ เพราะได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าซาร์เป็นอย่างมาก ทั้งรับสั่งของขวัญที่ระลึกเพื่อมอบให้กับบุคคลสำคัญต่างๆ และยังเลือกให้ฟาบาร์เช่เป็นตัวแทนของประเทศรัสเซียในงาน expo ประจำปี 1900 ที่ปารีส นับเป็นประตูที่เปิดให้ทั่วโลกได้รู้จักกับเครื่องประดับของฟาบาร์เช่และรสนิยมทางศิลปะหลังม่านหิมะของประเทศรัสเซีย

ถึงแม้ปีเตอร์ คาร์ล ฟาบาร์เช่นั้นจะเป็นเจ้าของกิจการ แต่ตัวเขาหาใช่ผู้ที่ลงมือประดิษฐ์เครื่องประดับทุกชิ้นขึ้น ผลงานในร้านรวมถึงไข่ฟาบาร์เช่อันโด่งดังล้วนมีจุดเริ่มต้นจากความคิดและฝีมือการออกแบบของเขา โดยส่งต่อไปยังช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญในส่วนการผลิต สุดท้ายก่อนนำออกขายจะต้องผ่านการตรวจสอบจากตัวฟาบาร์เช่เอง และหากชิ้นไหนที่ไม่ผ่านมาตรฐานแล้วจะถูกส่งกลับไปแก้ไขใหม่ หรือโดนทำลายทิ้ง ทำให้ชื่อ Fabergé นั้นเป็นเครื่องการันตีได้ถึงเครื่องประดับชั้นสูงคุณภาพดีสมราคาที่ลูกค้าพึงจะได้รับ

 

3E292A33-25A8-4692-86E8-54A8E82BCAC2_w1023_s12C87E12-D00E-4960-8849-1E973504AAFB_w1023_s

 

แม้ฟาบาร์เช่จะกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และมีลูกค้าผู้มั่งคั่งมากมาย หากแต่ผลงานที่ฟาบาร์เช่ให้ความสำคัญและพร้อมทุ่มเทแรงกายแรงใจให้มากที่สุดยังคงเป็น Imperial Easter Eggs เสมอ เพื่อมอบของขวัญที่ดีที่สุดให้แก่สตรีที่มีอำนาจสูงสุดในรัสเซียทั้งสองพระองค์ โดยเนื้อหาที่ฟาบาร์เช่นำมาใช้ออกแบบในแต่ละปีมักหนีไม่พ้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในราชวงศ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวในวันวานหรือสถานการณ์ปัจจุบัน โดยในโอกาสที่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ครองราชย์ครบ 15 ปีในปี 1911 นั้น ฟาบาร์เช่ได้รังสรรค์ไข่ Fifteenth Anniversary Egg ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว

ซึ่งไข่ใบนี้ถือว่าเป็นอัลบั้มรวมภาพครอบครัวของพระเจ้าซาร์ก็ว่าได้ เพราะบริเวณด้านนอกเปลือกไข่ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นช่องๆ จำนวน 18 ช่อง แต่ละช่องปรากฏภาพเขียนเสมือนจริงของพระบรมวงศานุวงศ์และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ความพิเศษของไข่ใบนี้อยู่ที่ไม่มี surprise ด้านใน โดยฟาบาร์เช่ให้เหตุผลว่าภาพเขียนด้านนอกคือ surprise ในตัวเองอยู่แล้ว

 

1911-15th-Anniversary-01

 

อย่างไรก็ตาม ภายใต้ฉากหน้าที่สวยงาม ทั้งความรุ่มรวยของราชสำนักและงานเลี้ยงฉลองต่างๆ พระเจ้าซาร์และซาริน่าได้เก็บงำความลับเกี่ยวกับสุขภาพของเจ้าชายอเล็กเซ มกุฎราชกุมารพระองค์น้อยเอาไว้ เจ้าชายทรงประสบโรคฮีโมฟีเลีย ซึ่งเป็นภาวะของการเลือดไหลไม่หยุด สร้างความวิตกกังวลให้กับพระราชบิดามารดาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะซาริน่าอเล็กซานดร้า พระนางได้พยายามติดต่อหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั่วราชอาณาจักร แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถรักษาได้ จนกระทั่งการมาถึงของชายที่ชื่อว่า รัสปูติน

รัสปูตินแนะนำตนเองว่าเป็นนักบวชที่มีพลังวิเศษ โดยอ้างว่าสามารถรักษามกุฎราชกุมารองค์น้อยได้ด้วยวิธีการจ้องตาเท่านั้น ซาริน่าอเล็กซานดร้าเชื่อถือรัสปูตินมากเพราะเขาทำให้อาการของเจ้าชายอเล็กเซดีขึ้นได้อย่างเหลือเชื่อ แต่บรรดาข้าหลวง พระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เองต่างไม่เห็นด้วยกับการรักษานี้และมองว่ารัสปูตินจะเป็นภัยต่อราชสำนักรัสเซียในอนาคต

 

339081324415_original

 

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่ได้ชื่อว่า Bloody Sunday ในปี 1905 ความนิยมในตัวราชวงศ์และพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 มีแนวโน้มจะลดน้อยลงเรื่อยๆ ครั้งนั้นประชาชนได้ก่อการประท้วงอย่างสงบด้วยการเดินเท้าเข้ามายื่นฎีกาหน้าพระราชวัง แต่ทหารกลับยิงปืนใส่ประชาชนที่ไร้ซึ่งอาวุธ ทำให้มีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวได้รับสมญานามว่า Bloody Nicholas ไปโดยปริยาย ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังตึงเครียดนี้ ทำให้การรังสรรค์ไข่ฟาบาร์เช่ถูกงดไปถึง 2 ปี

กระทั่งการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1914 ประเทศรัสเซียที่มีกองกำลังอันยิ่งใหญ่และเกรียงไกรที่สุดในโลก กลับสูญเสียทหารถึง 1 ล้านคนในเวลาเพียง 5 เดือน เพราะขาดการเตรียมพร้อมที่ดี เสบียงอาหารไม่เพียงพอ และฤดูหนาวอันโหดร้าย ทำให้ทหารล้มตายเป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น

ในครั้งนั้น ตัวพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และซาเรวิซอเล็กเซได้เข้าร่วมกองทัพในแนวหน้า อันเป็นแรงบันดาลใจให้ฟาบาร์เช่ได้รังสรรค์ Steel Military Egg ขึ้นในวันอีสเตอร์ปี 1916 และเนื่องจากเป็นช่วงข้าวยากหมากแพงระหว่างสงคราม แทนที่จะใช้วัสดุราคาแพงอย่างเคย ฟาบาร์เช่ได้นำเหล็กกล้ามาใช้บริเวณเปลือกไข่ โดยไม่มีอัญมณีใดๆ ในการตกแต่ง ไข่ใบนี้มีความสำคัญตรงที่เป็นไข่ฟาบาร์เช่ใบสุดท้ายที่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้มอบให้กับซาริน่าอเล็กซานดร้า

 

1916-steel-military

 

และตามธรรมเนียมที่ว่าในปีเดียวกัน ฟาบาร์เช่จะรังสรรค์ไข่อีกใบเพื่อมอบให้กับพระมารดาของพระเจ้าซาร์ โดยไข่ใบสุดท้ายที่พระองค์ได้มอบให้กับอดีตซาริน่ามาเรียมีชื่อว่า Order of St. George Egg ซึ่งเป็นยศและตำแหน่งทางการทหารที่พระเจ้าซาร์และซาเรวิซได้รับ ถูกออกแบบและสร้างสรรค์อย่างเรียบง่ายด้วยวัสดุราคาถูก ตกแต่งด้วยการลงยาสีรอบทั้งใบ โดย surprise ของไข่ใบนี้มีหน้าต่าง 2 บานอยู่ตรงข้ามกันที่สามารถเปิดปิดได้ ภายในปรากฏภาพเหมือนของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และซาเรวิซอเล็กเซ

 

1916-order-of-st-george-011916-order-of-st-george-02

 

เมื่อสถานการณ์เริ่มเลวร้ายลงเรื่อยๆ ทั้งเรื่องอื้อฉาวของรัสปูตินในรั้ววัง และภาวะสงครามที่ทำให้บ้านเมืองไม่สงบสุข ประชาชนเริ่มกังขาความสามารถขององค์พระประมุขของประเทศ บางกลุ่มแสดงความไม่พอใจและมีการกล่าวหาซาริน่าอเล็กซานดร้าว่าสมคบคิดกับฝ่ายศัตรู เนื่องจากพระองค์สืบเชื้อสายเยอรมันซึ่งเป็นประเทศฝ่ายตรงข้ามในสงครามขณะนั้น

ในที่สุดรัฐบาลเฉพาะกาลได้ทำการยึดอำนาจของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และถอดพระอิสสริยยศของพระองค์และครอบครัว ถือเป็นการสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่ปกครองโดยราชวงศ์โรมานอฟตลอด 300 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ในปีเดียวกันรัฐบาลเฉพาะกาลก็ถูกแทนที่ด้วยการปฏิวัติของรัฐบาลพรรคบอลเชวิก และเหตุการณ์หลังจากนั้นคือการมาถึงของโศกนาฏกรรมอันโด่งดังที่ทั้งครอบครัวของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และข้าราชบริพารผู้ภักดี ถูกสังหารหมู่อย่างเหี้ยมโหดในคืนวันที่ 17 กรกฏาคม 1918 ซึ่งในปี 2017 นี้เป็นการครบรอบ 100 ปีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองพอดิบพอดี

 

1F0A824A-2505-493A-9EF5-2B09F15F2CE2_w1023_s

The family of Tsar Nicholas II of Russia, c1906-c1907(?). Artist: Anon
The family of Tsar Nicholas II of Russia, c1906-c1907(?). The Tsar (1868-1918), Tsarina Alexandra (1872-1918) and their children Grand Duchesses Olga (1895-1918), Tatiana (1897-1918), Maria (1899-1918), Anastasia (1901-1918) and the Tsarevich Alexei (1904 (Photo by Fine Art Images/Heritage Images/Getty Images)

 

แม้เรื่องราวของราชวงศ์โรมานอฟที่เคยรุ่งเรืองจะเหลือเพียงภาพจำในอดีต แต่ตำนานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นถึงความรุ่มรวยทางศิลปวัฒนธรรมซึ่งถูกส่งต่อผ่านศิลปวัตถุอันมีค่าอย่าง Fabergé Imperial Easter Eggs เหล่านี้ โดยในจำนวนไข่ทั้งหมดกว่า 50 ใบที่รังสรรค์จากฝีมือของฟาบาร์เช่นั้น ปัจจุบันได้กระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ทั้งในคอลเลคชั่นส่วนตัวของเหล่านักสะสม ในพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ และในประเทศรัสเซียเอง

หากใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวรัสเซีย อย่าลืมแวะไปชมไข่ฟาบาร์เช่ของจริงได้ทั้งสิ้น 19 ใบด้วยกัน โดยจัดแสดงที่ Fabergé Museum ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจำนวน 9 ใบ และอีก 10 ใบที่ Armoury Chamber ใน Moscow Kremlin กรุงมอสโก ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ที่รวบรวมไข่ฟาบาร์เช่ไว้มากที่สุดในโลก

 

 

ข้อมูลบางส่วนจาก

https://www.youtube.com/user/TsarevichAlexeiSite/videos

เครดิตรูปภาพจาก

http://www.yogallerymagazine.com/es/la-historia-de-los-huevos-de-pascua-faberge-y-de-la-corte-imperial-rusa
http://www.townandcountrymag.com/society/tradition/a8072/russian-tsar-execution/
http://www.angelfire.com/pa/ImperialRussian/blog/index.blog/1453131/monument-to-nicholas-ii-to-be-erected-in-thailand/
https://www.currenttime.tv/a/faberge-eggs-still-captivate-100-years-on/28475823.html
http://frallik.livejournal.com/974263.html
http://www.museumsyndicate.com/item.php?item=33908
http://www.soravij.com/royalty/rama5/nicholas.html

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.