In remembrance of Wendy Ramshaw

 

Who is Wendy Ramshaw?

เวนดี้ แรมชอว์อาจไม่ใช่ชื่อที่คุ้นหูของคนทั่วไป แต่สำหรับนักเรียนสาขาวิชาออกแบบเครื่องประดับ พวกเรารู้จักและจดจำเธอได้ตั้งแต่คาบแรกๆ ที่เข้าเรียน

เพราะชื่อเสียงและผลงานของเธอมักถูกยกขึ้นมาเป็นกรณีตัวอย่างเสมอ

 

Neckpiece for Picasso’s ‘Portrait of a woman’

Title: ‘Air’, from Wendy’s exhibition ‘Journey Through Glass’. Date: 2007.
Materials: Glass and 18ct gold. Photo credit: Graham Pym

Title:‘Chain of Glass Tears for Weeping Woman’. Date: 1998 .
Materials: Glass and blackened steel, series of four unique variations. Photo credit: Bob Cramp

 

ไม่ว่าจะเป็นผลงานเครื่องประดับชุด Picasso’s Ladies ที่โด่งดังจากการนำเสนอมุมมอง “ผู้หญิงของปิกัสโซ่” ซึ่งพัฒนาจากภาพเขียนสองมิติสู่ผลงานศิลปะบนเรือนร่างมนุษย์ หรือผลงานเชิงทดลองวัสดุที่เธอได้ทำร่วมกับคู่ชีวิต เดวิด วัตกินส์ (David Watkins) ผู้เป็นปรมาจารย์และตำนานอีกคนของวงการเครื่องประดับร่วมสมัย

ทั้งสองทำให้โลกของคำว่า “เครื่องประดับ” ในพจนานุกรมของเด็กวัยรุ่นอายุ 18 เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

 

Title: Invitation card for Wendy’s ’Towers’ exhibition. Date: 2005.
Photo credit: Graham Pym

Title: Set of mirror rings. Date: 1970.
Photo credit: Bob Cramp

Title: Pair of un-matched earrings. Date: 1987.
Photo credit: David Watkins

 

จากวันแรกที่ได้รู้จักชื่อและผลงานของเวนดี้ แรมชอว์ จนถึงวันนี้ที่เธอจากไปด้วยโรคภัยในวัย 79 ปี ข่าวการเสียชีวิตของแรมชอว์สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อผู้คนในแวดวงเป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้เธอจะเป็นนักออกแบบเครื่องประดับสัญชาติอังกฤษ แต่ผลงานที่เธอเคยสร้างสรรค์ไว้นั้นมีอิทธิพลต่อวงการในระดับสากล นอกจากเครื่องประดับเชิงศิลปะแล้ว แรมชอว์คือผู้คิดค้นรูปแบบแหวนที่เรียกว่า Stackable Ring หรือที่คนไทยเรียกว่า สแตค-ริง ซึ่งหมายถึงการสวมใส่แหวนหลายๆ วงซ้อนกัน โดยเสนอให้เห็นหัวแหวนรูปทรงต่างๆ เรียงซ้อนกันอย่างเป็นจังหวะ เป็นการสร้างลูกเล่นและมิติของความสนุกสนานในการสวมใส่เครื่องประดับ

 

Title: Set of mirror rings. Date: 1970. / Title: Geometric Rings. Date: 1990.
Photo credit: Bob Cramp

 

นอกจากนี้ แรมชอว์ยังได้ถ่ายทอดคำสอนไปยังนักออกแบบรุ่นหลังๆ ผ่านงานออกแบบของเธอ ว่าด้วยเรื่องการออกแบบที่ดีนั้น  ควรคำนึงถึงขั้นตอนในการสวมใส่เครื่องประดับตั้งแต่ต้นจนจบอย่างรอบคอบ รวมถึงคิดเผื่อไปยังช่วงเวลาที่เครื่องประดับไม่ถูกสวมใส่ด้วย ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่ใช้เก็บเครื่องประดับที่เธอออกแบบ ซึ่งมีหน้าตาคล้ายแท่นจัดแสดงงานที่สวยงามไม่แพ้ตัวชิ้นงานเอง

 

Photo credit: George Gammer

Rings, Wendy Ramshaw Photo William Van Esland

Rings by Wendy Ramshaw Photo credit: William Van Esland

 

 

Rio นิตยสารออนไลน์สัญชาติอังกฤษเคยกล่าวถึงเวนดี้ แรมชอว์ว่า เธอมีความสามารถและความถนัดอันหลากหลายเกินว่าจะถูกจำกัดความได้ด้วยคำเพียงคำเดียว ผลงานของแรมชอว์แสดงให้เห็นว่าเธอเป็นทั้งศิลปินผู้สร้างสรรค์ สถาปนิก นักปั้นเครื่องเคลือบดินเผา นักออกแบบเครื่องประดับ รวมไปถึงบทบาทการเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยด้านศิลปะและการออกแบบที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก The Royal College of Art

เนื่องจากสามีของเธอ เดวิด วัตกินส์นั้นเป็นอาจารย์ประจำภาควิชา Goldsmithing, Silversmithing, Metalwork and Jewellery อยู่แล้ว จึงได้เชิญภรรยาเข้ามาเป็นอาจารย์พิเศษระหว่างปี 1996-1999 ก่อนที่ความสนใจของแรมชอว์จะหันเหไปที่งานตกแต่งสถาปัตยกรรมเสียมากกว่า

เวนดี้ แรมชอว์เริ่มเปลี่ยนไปออกแบบผลงานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เอกลักษณ์หรือสไตล์ของเธอเป็นที่จดจำได้ง่ายขึ้นเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือการออกแบบประตูรูปลักษณ์แปลกตาที่ได้กลายเป็นสาธารณสมบัติตามสถานที่ต่างๆ

 

St John’s Gate, Oxford
Photo credit: Bob Cramp

Gate For The Fellows Garden, Clare College, Cambridge
Photo credit: George Gammer

hyde_park_sketchhyde_park

The New Edinburgh Gate Hyde Park, London
Photo credit: George Gammer

 

เป็นระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่เวนดี้ แรมชอว์ได้สร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่างๆ ทั้งประตูสวนสาธารณะ หน้าต่างและบันไดในบ้านเรือน ตลอดจนผลงานศิลปะที่จัดแสดงอยู่ในหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ชั้นนำ เอกลักษณ์ที่โดดเด่นจากเส้นสายและรูปแบบงานสไตล์เรขาคณิตสร้างตัวตนให้คนจดจำเธอ เพราะแต่ละผลงานนั้นแม้ผ่านเวลามานับสิบปี แต่ยังคงความสดใหม่และร่วมสมัยอยู่เสมอ

ถึงแม้ในวันนี้เวนดี้ แรมชอว์จะจากไป แต่เราเชื่อว่าผลงานทั้งหมดของเธอยังคงสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแรงผลักดันให้นักออกแบบรุ่นใหม่ในอนาคต โดยเฉพาะในวงการเครื่องประดับ ที่ซึ่งเธอได้เคยเปิดโลกทัศน์ให้เด็กไทยคนหนึ่งเมื่อ 10 ปีก่อน ได้เดินตามความฝันของตัวเองและ ณ ปัจจุบันยังคงเชื่อมั่นในเส้นทางที่ได้เลือกเดิน

 

Rest in Peace Wendy Ramshaw

wendy-bw

(1939-2018)

 

 

sources :

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.