Vivid Taiwan

บันทึกการเดินทางไปประเทศไต้หวันครั้งแรก

การเดินทางในครั้งนี้เป็นรางวัลที่ได้จากการประกวดออกแบบในโครงการ “ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย” นอกจากจะได้เงินรางวัลแล้ว ยังได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ประเทศไต้หวันเป็นเวลา 5 วันด้วย

ส่วนตัวเราไม่เคยไปไต้หวันมาก่อน แต่จากคำบอกเล่าของใครหลายคน ไต้หวันเป็นประเทศที่พูดภาษาจีน ผู้คนอพยพมาจากประเทศจีน แต่มีความนอบน้อมเป็นระเบียบแบบญี่ปุ่น ทำให้สีสันและลักษณะของงานออกแบบที่เห็นค่อนข้างจัดจ้าน แต่แฝงไปด้วยความน่ารักกุ๊กกิ๊กแบบเด็กๆ

03818-1_191103_001403818-1_191103_0010

หนึ่งในสถานที่ที่ประทับใจที่สุดคือหมู่บ้านสายรุ้ง หรือ Rainbow Village ที่เมืองไถจง ตามคำบอกเล่าของพี่ไกด์ สถานที่แห่งนี้คือหมู่บ้านเก่าของเหล่าทหารผ่านศึก ซึ่งในอดีตรัฐบาลไต้หวันได้สร้างหมู่บ้านชั้นเดียวให้เป็นที่พักของเหล่าทหารกล้าได้อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่หลังจากนั้นเริ่มเล็งเห็นมูลค่าเพิ่มของพื้นที่โดยรอบ จึงต้องการรื้อถอนและสร้างเป็นสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ทำเงินได้

ในขณะที่กำลังเกิดการรื้อถอนขึ้น ได้มีนายทหารเก่าคนหนึ่งชื่อคุณลุง Huang Yung-fu ได้เริ่มต้นขีดเขียนและวาดรูปลงบนผนังบ้านพักของตนเอง เป็นลวดลายน่ารัก สีสันสดใส กลายเป็นที่ถูกใจของคนในหมู่บ้าน จึงเห็นดีเห็นงามและอนุญาตให้คุณลุงวาดฝาผนังบ้านของตนเองด้วย

03818-1_191103_001703818-1_191103_002203818-1_191103_0011

จนกระทั่งนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปะละแวกนั้นได้มาพบเข้า จึงเกิดการบอกต่อๆ กันไป ไม่ว่าจะเป็นปากต่อปากหรือการใช้ Social Media ทำให้สถานที่แห่งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และเกิดการรวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องให้หมู่บ้านแห่งนี้ได้คงอยู่ต่อไป จนรัฐบาลได้ออกมาประกาศยกเลิกการรื้อถอน และได้ประกาศให้หมู่บ้านสายรุ้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของไต้หวัน

โดยตัวคุณลุง Huang Yung-Fu ก็ยังอาศัยอยู่ในบริเวณหมู่บ้านนี้ ซึ่งปัจจุบันมีอายุถึง 97 ปีแล้ว! คุณลุงนั้นเรียกว่าเป็นมาสคอตของที่นี่ก็ว่าได้ เพราะเป็นคนวาดรูปทั้งหมด และยังปกป้องให้หมู่บ้านแห่งนี้ไม่ถูกทำลายลงไป จึงไม่น่าแปลกใจที่แขกไปใครมาจะต้องขอถ่ายรูปกับคุณลุง ที่นั่งยิ้มพร้อมส่ง mini heart ให้ทุกคนอย่างอารมณ์ดี

03818-1_191103_002403818-1_191103_0018

โดยรวมประเทศไต้หวันนั้นค่อนข้างสะอาด โดยเฉพาะห้องน้ำถือว่าสะอาดมาก มีการแบ่งระบบอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นส้วมหลุมแบบฉบับคนจีน หรือโถนั่งแบบสากล โดยทุกห้องจะมีกระดาษชำระเตรียมไว้ให้เสมอ ถึงแม้จะเป็นห้องน้ำสาธารณะหรือห้องน้ำตามร้านอาหารก็ตาม

03818-1_191103_002903818-1_191103_0030

ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวในทริปนี้ มีทั้งการไปศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยศิลปะ ไปวัดเพื่อเรียนรู้วิถีความเชื่อที่แตกต่างจากบ้านเรา ตลอดจนสถานที่สาธารณะต่างๆ ที่รัฐบาลไต้หวันได้สนับสนุนให้ผู้คนได้ออกมาใช้พื้นที่ส่วนรวม ในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ งานออกแบบ และงานฝีมือโดยไม่เกี่ยงประเภท อีกหนึ่งสถานที่ที่ประทับใจคือบริเวณริมท่าน้ำเมืองเกาสง หรือที่คนไต้หวันเรียกว่า Pier 2

03818-2_191103_002003818-2_191103_0022

Pier 2 นั้นครอบคลุมบริเวณโดยรอบของท่าเรือเกาสง ซึ่งในอดีตเคยเป็นท่าเรือใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก แต่ปัจจุบันด้วยระบบขนส่งที่ทันสมัยขึ้น รวมถึง Social Media ต่างๆ ที่ทำให้คนอาจเปลี่ยนวิธีการติดต่อกันไป ทำให้ท่าเรือแห่งนี้ไม่คึกคักเหมือนเมื่อก่อน

รัฐบาลไต้หวันได้ทำการปรับปรุงพื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะโกดังเก่าหลายหลัง ให้กลายเป็นพื้นที่แสดงงานศิลปะ ร้านขายสินค้าทำมือ ร้านขายของมือสอง รวมไปถึงสินค้าที่ made in Taiwan ต่างๆ อีกด้วย

ส่วนตัวประทับใจงานนิทรรศการเป็นพิเศษ เพราะบังเอิญไปเจอห้องแสดงงานชื่อ Rethink 2019 ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของช่วงเทศกาล Kaohsiung Design Festival 2019 โดยนักออกแบบชาวไต้หวันเล่นกับปัญหาในสังคมที่เกิดขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ มาเป็นแรงบันดาลใจให้ใช้งานออกแบบเข้าแก้ปัญหา ดังนั้นสิ่งที่นำเสนอจึงสามารถเชื่อมโยงกับบุคคลทั่วไปได้ง่าย ไม่ว่าใครก็เข้าใจได้ไม่จำเป็นต้องเป็นนักออกแบบ หรือคนที่อยู่ในแวดวงเดียวกันเท่านั้น แม้กระทั่งคนไทยอย่างเรายังเข้าใจและประทับใจได้ไม่ยาก

03818-2_191103_001003818-2_191103_000303818-2_191103_002703818-2_191103_001403818-2_191103_0032

ในวันสุดท้ายเราได้มาที่ตึกที่เป็นสัญลักษณ์ของไต้หวันอย่าง Taipei 101 ที่ไทเป เมืองหลวงของประเทศไต้หวัน บรรยากาศโดยรอบแตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ ที่ไปมาในช่วงวันแรกๆ รถเยอะขึ้น ผู้คนหนาแน่นขึ้น แต่สิ่งที่ไม่ต่างคือความเป็นระเบียบและความสะอาดของสถานที่สาธารณะต่างๆ นั่นเอง

 

*รูปทั้งหมดถ่ายด้วยกล้องฟิล๋ม Pentax MX ใส่ฟิล์ม Kodak Provia 160 ทั้งทริป

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.