The revival of the rival, Schiaparelli is back!

ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นยุคที่เหล่าห้องเสื้อสตรีล้วนมีแต่นักออกแบบเพศชาย และแบรนด์คุ้นหูทั้งหลายในปัจจุบันนั้นมาจากชื่อหรือสกุลของผู้ก่อตั้ง ถึงอย่างนั้นก็มีนักออกแบบหญิงถึง 2 คนเป็นที่ยอมรับในวงกว้างและได้สร้างตำนานประดับวงการแฟชั่น ไม่ว่าจะด้วยเรื่องผลงานการออกแบบ เทคนิคใหม่ๆ ที่ถูกคิดค้นและปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก รวมถึงเรื่องเล่าส่วนตัวของทั้งคู่ที่หลายคนรู้ดีว่าไม่ลงรอย เรียกได้ว่าถ้า Gabrielle ‘Coco’ Chanel คือตัวแทนจากฝรั่งเศส อิตาลีก็มี Elsa Schiaparelli ที่โด่งดังไม่แพ้กัน ปัจจุบันชื่อเสียงของแบรนด์ Chanel นั้นเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย แม้ไม่ใช่คนในวงการแฟชั่นก็ต้องเคยได้ยินชื่อของเธอ ด้วยผลงาน masterpiece หลายๆ ชิ้น ทั้งการใช้ผ้าทวีต (tweed) จนกลายเป็นลายเซ็นเฉพาะ และกระเป๋าสะพาย Chanel 2.55 ใบโปรดของสาวๆ ที่กลายเป็นตำนาน It bag สไตล์ของ Chanel อาจอธิบายได้ด้วยคำว่า Classic and Comfortable ในขณะที่คู่แข่งของเธอ Schiaparelli คือสนามประลองไอเดียที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะ Surrealism ห้องเสื้อ Haute Couture ของ Coco Chanel และ…

Fendi Artis(t)ans, Made in Italy

ไม่มีสาวกแบรนด์เนมคนไหนไม่รู้จัก Fendi Baguette เพราะกระเป๋ารุ่นนี้ถือเป็นตำนาน It bag ใบแรกที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์แฟชั่นว่าทำให้เกิดการรอต่อคิวหรือ Waiting List ขึ้น โด่งดังสุดขีดจากซีรีส์ยอดฮิต Sex and the City ในฉากที่ Carrie Bradshaw ตอบโจรที่กำลังฉกชิงกระเป๋าของเธอ “Give me your bag!”“uh.. It’s a Bag-uette.” Fendi Baguette ถือกำเนิดในปี 1997 ด้วยฝีมือของ Silvia Venturini Fendi ทายาทรุ่นที่ 3 แห่งตระกูล Fendi ผู้ออกแบบกระเป๋าหูหิ้วขนาดกระทัดรัด ที่สามารถคล้องใต้วงแขนได้พอดิบพอดีเช่นเดียวกับเวลาที่สาวๆ ปารีเซียงพกพาขนมปังบาแก็ตต์ไปรอบเมือง ทันทีที่วางขาย Fendi Baguette กลายเป็นสินค้า best-seller และ sold out ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้คำว่าบาแก็ตต์ไม่ได้หมายความถึงขนมปังฝรั่งเศสอีกต่อไป แต่กลายเป็นตำนาน It Bag “กระเป๋าที่ต้องมี”…

Sakon Made | Sakon Series 03

Nowadays, Sakon Nakhon is nationally famous for their craftsmanship on Indigo, or Kram in Thai. The province is also fascinating by its tourist attractions, and recently, the local youngsters have gathered and arranged an annual event called Sakon Made which raised the province reputation and became one of the destinations to visit during Christmas and New Year breaks.    …

A McQueen’s tale

เชื่อว่าไม่มีนักเรียนแฟชั่นคนไหนไม่เคยได้ยินชื่อ Alexander McQueen (อเล็กซานเดอร์ แมคควีน) เด็กหนุ่มชนชั้นกลางจากกรุงลอนดอน ที่ใช้ความสามารถและความลุ่มหลงในการตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้สึก ความอัดอั้นตันใจ และตัวตนที่ถูกเก็บซ่อนไว้ เพื่อรอวันปะทุและระเบิดสู่สายตาสาธารณชน เป็นเวลากว่า 10 ปีที่แมคควีนโลดแล่นอยู่ในอุตสาหกรรมแฟชั่น สร้างชื่อเสียงระดับโลกและเป็นที่ยอมรับในแวดวงแฟชั่นชั้นสูง แต่เขากลับปลิดชีวิตตนเองลงในวันที่สูญเสียคนที่รักที่สุดไป นี่คือเรื่องราวของ Lee Alexander McQueen ผ่านภาพยนตร์สารคดีที่บอกเล่าตัวตนของเขา “แบรนด์ของผมก็จะตายไปพร้อมกับผมนี่ล่ะ” “เพราะคอลเลคชั่นของผมเป็นเรื่องส่วนตัวมาก ถ้าไม่ใช่ผม แล้วใครจะทำออกมาได้” เมื่อถูกถามถึงการรับช่วงต่อแบรนด์ภายใต้ชื่อของเขา อเล็กซานเดอร์ แมคควีนเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “แบรนด์จะตายไปพร้อมกับผม” แต่หลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว 8 ปี ปัจจุบันแบรนด์ Alexander McQueen ยังคงเป็นหนึ่งในแบรนด์แฟชั่นชั้นนำภายใต้การดูแลของ Creative Director คนปัจจุบัน Sarah Burton อดีตมือขวาของแมคควีนเอง   “I always wanted to be a designer. I read books on fashion from the age of…

May Kate Rest in Peace

ต่อให้ไม่ใช่คนในหรือคนที่สนใจแวดวงแฟชั่น ย่อมต้องเคยได้ยิน รู้จัก หรืออาจเคยเป็นเจ้าของกระเป๋ายี่ห้อดัง Kate Spade New York ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยรูปทรงน่ารักที่หลากหลาย มีให้เลือกทั้งแบบเรียบง่ายและสนุกสนาน บวกกับสีสันอันสดใสแบบเด็กๆ ทำให้ Kate Spade กลายเป็นกระเป๋าแบรนด์เนมใบแรกในชีวิตของผู้หญิงอเมริกันหลายล้านคน และจากอารมณ์บวกในภาพลักษณ์ของแบรนด์นี้เองที่ทำให้ข่าวการเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายของนักออกแบบและผู้ก่อตั้ง เคท สเปด สร้างความตกใจและช็อคคนทั้งโลกได้ในชั่วข้ามคืน หลายคนคาดเดากันไปต่างๆ นานา ถึงเหตุผลที่ทำให้เคทตัดสินใจเช่นนี้ ส่วนมากมุ่งประเด็นไปที่สามีของเธอ แอนดี้ สเปด ผู้ผลักดันและปลุกปั้นแบรนด์ Kate Spade New York มาด้วยกัน ทั้งกระแสที่ว่าเธอเป็นโรคซึมเศร้าและมีอาการวิตกจริตอยู่แล้ว หรือกระแสที่ว่ามีการเขียนจดหมายลาตายทิ้งไว้ให้ลูกสาว โดยเฉพาะคำลงท้ายที่ว่า Ask daddy! ทั้งหมดนี้ยังเป็นปริศนาที่เราจะมาลองวิเคราะห์ และย้อนกลับไปดูกระเป๋าของแบรนด์เพื่อระลึกถึงเคท สเปดผู้ล่วงลับ   Andy and Kate Spade in 2014. CreditAngela Pham/BFA, via Shutterstock   เริ่มจากแบรนด์ Kate Spade New York นั้นมีต้นกำเนิดจากการผลักดันของแอนดี้ที่เห็นภรรยาทำงานในวงการแฟชั่น…

Love saves the Bees

ยังคงเกาะกระแสงานแต่งงานครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างเจ้าชายแฮร์รี่แห่งราชวงศ์อังกฤษและเมแกน มาร์เคิล ดารานักแสดงสาวชาวอเมริกัน ในโพสนี้ เราขอพูดถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่น่าสนใจแต่อาจถูกมองข้ามไปในพิธีเสกสมรส เพราะสื่อส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจัดลำดับการแต่งกายของแขกในงาน การเปรียบเทียบระหว่างสะใภ้เจ้าทั้งสอง และเครื่องประดับราชวงศ์ที่ดัสเชสแห่งซัสเซกส์จะเลือกสวม รวมไปถึงการตกแต่ง St. George’s Chapel สถานที่จัดงานที่ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยสัญลักษณ์ที่มีความหมาย หนึ่งในนั้นคือการช่วยเหลือผึ้งที่กำลังจะสูญพันธุ์ด้วยการประดับไม้ดอกในงานแต่งงาน!     ฟังดูแล้วไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน แต่หลายปีมานี้ประเด็นเรื่องการใกล้สูญพันธุ์ของผึ้ง (Honey Bee) เป็นปัญหาระดับโลก เพราะสิ่งที่จะตามมาหากไม่มีผึ้งแล้วอาจทำให้มนุษย์ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ด้วยเหตุผลง่ายๆ เนื่องจากผึ้งทำหน้าที่ผสมเกสรดอกไม้และพืชพันธุ์กว่า 70% ที่มนุษย์บริโภคเป็นอาหารนั่นเอง ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้ผึ้งใกล้สูญพันธุ์เกิดจากปัญหาการใช้สารเคมี ที่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้าง และคร่าชีวิตผึ้งงานอย่างรวดเร็ว ประเด็นนี้กลายเป็นที่สนใจในวงกว้าง ไม่เว้นแม้แต่วงการแฟชั่นที่มีเส้นใยฝ้ายเป็นตัวการสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงเนื่องจากผึ้งเป็นสิ่งมีชีวิตที่คอยผสมเกสรให้ต้นฝ้ายเจริญเติบโตจนสามารถนำมาถักทอเป็นผืนผ้า   ในวงการเครื่องประดับเองก็ไม่ได้เพิกเฉยต่อกระแสนี้ ในการคาดการณ์ Trend การออกแบบ Gems Vision ประจำฤดูร้อนและฤดูใบไม้ปี 2019 ของ Swarovski นั้นได้มีการนำ element ของผึ้งมาใช้และนำเสนอในรูปแบบการสวมใส่ที่ต่างไปจากเดิม ซึ่งหลายแบรนด์ได้นำรูปทรงของผึ้งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน Collection ตั้งแต่ปีที่แล้ว เพราะนอกจากจะสื่อความหมายถึงการอนุรักษ์พันธุ์ผึ้งให้อยู่รอดต่อไป ตัวผึ้งเองยังเป็นสัญลักษณ์และตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังถ่ายทอดอารมณ์ความสดใสตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี Pandora Shine…

Royal Wedding Fashion

นอกจากชุดแต่งงานและเทียร่าของเมแกน มาร์เคิลที่ผู้คนทั่วโลกต่างตั้งตารอดูแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือแฟชั่นของเหล่าผู้เข้าร่วมงานในพิธีเสกสมรสครั้งประวัติศาสตร์นี้ เพราะนอกจากจะได้เห็นการแต่งตัวที่ไม่ธรรมดาของแต่ละคนแล้ว ยังจะได้เห็นความสามารถในการประยุกต์รสนิยมส่วนบุคคลเข้ากับธรรมเนียมอนุรักษ์นิยมตามฉบับผู้ดีชาวอังกฤษอีกด้วย เพราะในการออกงานของชาวอังกฤษนั้นมาพร้อมกับธรรมเนียมปฏิบัติที่เคร่งครัดเสมอ!     การเป็นแขกในงานแต่งงานช่วงเช้าหรือพิธีในโบสถ์นั้น ตามธรรมเนียมปฏิบัติ สุภาพสตรีชาวอังกฤษจะต้องสวมหมวก และหากเป็นเหล่าราชวงศ์จะพ่วงด้วยการสวมถุงมือสีขาวยาวถึงข้อศอกพร้อมด้วยพระมาลา (หมวก) แต่ภายหลังธรรมเนียมปฏิบัตินี้ดูจะผ่อนปรนลงไปบ้าง สังเกตได้จากในพิธีเสกสมรสของดยุกและดัสเชสแห่งซักเซกส์ที่ผ่านมา ราชวงศ์ที่ยังสวมถุงมือสีขาวมีเพียงสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบ็ธที่ 2 พระองค์เดียวเท่านั้น ในขณะที่ทางฝั่งสุภาพบุรุษ การใส่สูทในพิธีช่วงเช้านั้นก็มีธรรมเนียมปฏิบัติเช่นกัน โดยจะต้องเป็นสูทยาวมีหาง แบบเดียวกับการแต่งกายไปชมการแข่งม้าหรือที่เรียกว่า Royal Ascot อันโด่งดังของประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ยังต้องสวมเสื้อกั๊ก (waistcoat) ด้านในพร้อมเนคไทในสีสันที่เหมาะสม ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติแล้วการเลือกสีสูทในพิธีการช่วงเช้านั้นมีชื่อเรียกสีเฉพาะว่า Morning Grey โดยจะเป็นสีเทาโทนที่อ่อนกว่าสูทออกงานกลางคืน     พูดถึงเรื่องสี จะสังเกตได้ว่าแขกในพิธีเสกสมรสครั้งนี้ หลายคนเลือกสวมสีน้ำเงินเพราะนอกจากจะเป็นสีสุภาพแล้ว ยังค่อนข้างปลอดภัย ไม่ตกเป็นหนึ่งในรายชื่อการแต่งกายยอดแย่ในโพลที่มักจะถูกจัดลำดับตามงานสังคมต่างๆ อย่างไรก็ตามการแต่งกายที่เหมาะสมในการไปงานแต่งงานนั้นควรสวมเสื้อผ้าสีสันสดใส เพื่อแฝงความหมายถึงการอวยพรให้ความรักของคู่บ่าวสาว เช่นเดียวกันกับดอกไม้ที่ใช้ตกแต่ง งานแต่งงานตามธรรมเนียมอังกฤษนั้นมักใช้ดอกไม้สีส้ม โดยต้องเป็นสีส้มสด หรือเหลืองสด อีกทั้งยังมีกิมมิกเล็กๆ อย่างการใช้สัญลักษณ์ของผึ้งแทนความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ เปรียบเสมือนการอวยพรให้ครอบครัวมีแต่ความสุขและมีทายาทโดยไว     นอกจากนี้การแต่งกายของสุภาพสตรียังเน้นชุดเดรสตามธรรมเนียมปฏิบัติ กล่าวคือในพิธีการช่วงเช้าจะแต่งกายสุภาพ ไม่เปิดเนื้อหนังให้เห็นมากนัก และใส่กระโปรงที่ยาวคลุมเข่าแต่ไม่ยาวลากพื้น เพราะการใส่กระโปรงยาวนั้นเป็นธรรมเนียมของการออกงานกลางคืน…

Beautiful tiara in the Royal Wedding

เรียกว่าพลิกทุกโผที่เคยทำนายถึงเทียร่าที่เมแกน มาร์เคิล หรือตำแหน่งปัจจุบัน The Duchess of Sussex หมาดๆ จะเลือกสวมในพิธีเสกสมรสกับเจ้าชายแฮร์รี่แห่งราชวงศ์อังกฤษ ปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวการแต่งงานของทั้งคู่นั้นอยู่ในความสนใจของคนทั้งโลก เห็นได้จากยอดการถ่ายทอดสดที่กระจายไปทั่วทุกทวีป โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาประเทศบ้านเกิดของดัสเชสที่ตื่นเต้นกับเหตุการณ์นี้มากจนมีการออกอากาศเกือบทุกช่อง ก่อนหน้านี้ข่าวการสวมเทียร่าของเมแกนนั้นได้มีการคาดเดากันไว้มากมาย เนื่องจากเทียร่าเป็นเครื่องประดับสำคัญในพิธีแต่งงาน และสมบัติของราชวงศ์อังกฤษนั้นมีมหาศาล ทำให้เกิดการวิเคราะห์ว่าเจ้าหญิงพระองค์ใหม่ของอังกฤษจะเลือกหรือได้รับพระราชทานเทียร่าชิ้นใดในวันสำคัญนี้     จากกระแสหลัก ทุกสื่อต่างลงความเห็นว่าเมแกนน่าจะสวมเทียร่าของเจ้าหญิงไดอาน่าในพิธีสำคัญ แต่กลับพลิกโผเมื่อดัสเซสแห่งซัสเซกส์ปรากฏกายพร้อมกับเทียร่าที่ไม่ได้เห็นมานานร่วม 60 ปี Diamond Bandeau Tiara หรือ Filigree Tiara ชิ้นนี้ ในอดีตเคยเป็นของขวัญที่พระราชินีแมรี่ได้รับพระราชทานเนื่องในวันแต่งงาน โดยพระองค์มีศักดิ์เป็นย่าของควีนอลิซาเบ็ธที่ 2 ผู้ปกครองประเทศอังกฤษและเครือจักรภพในปัจจุบัน ความพิเศษของเทียร่าชิ้นนี้คือสามารถดึงเพชรเม็ดกลางออกมาใช้เป็นเข็มกลัดได้ ซึ่งถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเครื่องประดับราชวงศ์ ที่ไม่เพียงแต่มีลักษณะการใช้งานจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ยังสามารถถอดประกอบ ดัดแปลง และนำไปใช้ออกงานที่แตกต่างกันได้ด้วย   ที่มา: The Sun   ตามธรรมเนียมของราชวงศ์อังกฤษเทียร่าเปรียบได้กับสิ่งที่อยู่คู่กับพิธีเสกสมรสเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นการเลือกหรือการได้รับพระราชทานเทียร่าชิ้นใดนั้นจึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ ในโพสนี้จึงขอย้อนดูความสวยงามและความร่ำรวยของราชวงศ์อังกฤษว่ามีเทียร่าชิ้นใดในครอบครองบ้าง และเจ้าสาวพระองค์ใดได้สวมใส่ในวันสำคัญของตน   Kate Middleton, The Duchess of Cambridge…

Jewels by JAR

หากใครเคยไปเที่ยวกรุงปารีส เมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส ย่อมรู้จักและอาจเคยมีโอกาสสัมผัสกับย่าน Place Vendôme ใจกลางเมือง อันเป็นที่ตั้งของร้านขายเครื่องประดับหลากหลายแบรนด์ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีราคาสูง ชื่อคุ้นหู และมีสาขาทั่วโลก ไม่ว่าจะแบรนด์ใหญ่อย่าง Cartier, Van Cleef & Arpels หรือแบรนด์แฟชั่นอย่าง Chanel และ Louis Vuitton ท่ามกลางบรรดาร้านเครื่องประดับสุดหรูเหล่านั้น หากไม่ทันสังเกตอาจเดินผ่านเลยไป กับร้านที่มี window display เป็นเครื่องประดับเพียง 1 ชิ้น และป้ายที่บอกชื่อแบรนด์ว่า JAR อยู่ด้านบน   ที่มา: Christopher Niquet   JAR (อ่านว่า จาร์) เป็นใครมาจากไหน ทำไมจึงมีหน้าร้านอยู่บนถนน Place Vendôme สุดหรูได้ แต่กลับใช้พื้นที่บริเวณนี้จัดหน้าร้านเหมือนกับปิดไว้ ราวกับไม่ต้องการต้อนรับลูกค้า และไม่พยายามจะนำเสนอเครื่องประดับใดๆ ออกสู่สายตาคนภายนอก สร้างความน่าสงสัยในตัวตนของแบรนด์ยิ่งนัก เพราะนอกจากจะมีหน้าร้านเพียงแห่งเดียว JAR ไม่มีแม้กระทั่ง official website, ช่องทาง social media หรือกระทั่ง Facebook…

Unseen Siam

Unseen Siam Early Photography 1860-1910 was held at BACC, Bangkok Art and Culture Centre during 9 September until 7 November 2016. The exhibition displays hundred of photographs from the very beginning until the end of the reign of King Chulalongkorn, the fifth King of Chakri Monarchy of Thailand (or Siam by then). The photographs were taken by foreign…

Dressing Gods and Demons: Costume For Khon

Another exhibition held at Queen Sirikit Museum of Textiles, Dressing Gods and Demons: Costume For Khon is also the new one, occupied in Galleries 3 and 4. The exhibition describes the origins of Khon and its historical presentation. It then highlights the modern Khon costumes created for the revival of this important art form by Her…

Fit For A Queen: Her Majesty Queen Sirikit’s Creations by Balmain

4 months is the duration that Queen Sirikit Museum of Textiles was closed due to new exhibitions construction. However the preparation was much earlier than that. Today (since 4th August 2016) we are now open to the public and introduce them to two brand new exhibitions, in honour to celebrate the auspicious occasion of Her Majesty Queen…